เทคนิคการเลือกซื้อจอ LCD ของ notebook
การเข้าใจความแตกต่างของจอ LCD แต่ละประเภทที่ใช้กับ notebook จะช่วยให้ตอบโจทย์นี้ได้ง่ายขึ้น และสามารถทำให้คุณเลือก notebook ได้ตรงกับความต้องการ และงบประมาณมากที่สุด
ย้อนกลับไปในสมัยที่ notebook เริ่มวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก วันนั้นจอ LCD ได้เริ่มกลายมาเป็นมาตรฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นหลายปีกว่าที่เราจะเริ่มใช้จอ LCD กับเครื่อง desktop เสียอีก ในขณะที่เครื่อง desktop ณ เวลานั้นใช้จอแบบ CRT ที่ใหญ่เทอะทะ — Notebook กลับใช้จอ LCD ที่บางเฉียบ ดูเรียบหรูและมีเสน่ห์ แต่อย่างไรก็ตาม คุณภาพของจอ LCD เหล่านั้นกลับไม่ได้ดีเท่าไหร่นัก แม้หลายๆ ท่านจะคิดว่าในปัจจุบันเทคโนโลยี LCD ได้พัฒนาไปไกลแล้วก็ตาม แต่เทคโนโลยีของจอ Notebook ก็ไม่ได้ถูกพัฒนาไปไกลเหมือนกับจอ monitor ที่ใช้กับเครื่อง desktop อย่างที่คุณคิด
จริงอยู่ที่จอ LCD สำหรับ notebook ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าจอในอดีตอยู่หลายขุม แต่ด้วยความที่มันต้องเป็นจอสำหรับเครื่องพกพาที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การประหยัดพลังงาน น้ำหนัก และขนาด ทำให้นักวิจัยและพัฒนาต้องยอมเสียสละความสามารถเด็ดๆ หลายๆ อย่างไปเพื่อให้ได้มาซึ่งจอที่มีขนาดที่เหมาะสม และไม่ใช้พลังงานมากจนเกินไป
ในขณะที่ LCD monitor สำหรับเครื่อง desktop นั้นมีให้เลือกหลากหลาย และมีการนำ panel แบบต่างๆ มาใช้ (เช่น S-IPS, S-PVA และ MVA เป็นต้น) เพื่อให้พวกมันสามารถแสดงสีสันที่สมจริงมากขึ้น และลด response time ลง และในปัจจุบัน LCD monitor สำหรับ desktop นั้นได้ถูกพัฒนาให้เพิ่มความสว่างขึ้นเรื่อยๆ จนในบางรุ่นแทบจะสว่างระดับ LCD TV เลยทีเดียว เพราะความพยายามที่จะโปรโมทความสว่างของ Panel เพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ แต่ LCD สำหรับ Notebook นั้น แทบจะทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันจะใช้ Panel แบบ TN ซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด และแสดงสีสันได้สมจริงน้อยที่สุดด้วย และความสว่างส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ระหว่าง 200 - 300 cd/m2 เท่านั้น
ถ้าคุณกำลังมองหา Notebook ไว้ใช้งานสักตัว นอกจากการพิจารณาเลือกสเป็กของเครื่องที่คุณต้องการแล้ว แน่นอนว่าคุณจะต้องเอาสเป็กของจอ LCD มาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อด้วยเช่นกัน ซึ่งการเลือก LCD สำหรับ notebook ที่เหมาะสมนั้น จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้:
ขนาด (physical size): ควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น
ถ้าเน้นใช้งานทั่วไป เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานท่องเว็บ ควรเลือกขนาดจอที่คุณคิดว่าคุณจะไม่มีปัญหาจากการมองหน้าจอเป็นเวลานานๆ ขนาดที่เหมาะสมควรจะมีขนาด 13 - 15 นิ้ว ขึ้นอยู่กับความสมัครใจว่าคุณต้องการแลกขนาดของจอที่ใหญ่ขึ้น กับน้ำหนักของ notebook ที่มากขึ้นตามไปด้วยหรือไม่
ถ้าเน้นใช้งานกราฟฟิค งานออกแบบด้านวิศวกรรม หรืองานที่ต้องเน้นรายละเอียดมากๆ ควรเลือกจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมี resolution สูงๆ (สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ resolution ได้ในหัวข้อ “ความละเอียด (resolution) ของหน้าจอ”)
ถ้าเน้นใช้งานด้าน Presentation เยอะๆ จะต้องเดินเข้า-ออกห้องประชุมอยู่บ่อยๆ และไม่ได้เน้นอ่านตัวหนังสือเล็กจิ๋วในโปรแกรมอย่าง Excel ควรเลือกเครื่องที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งหมายถึงว่าขนาดจอที่เหมาะสมควรมีขนาดประมาณ 12 - 14 นิ้ว
ถ้าเน้นใช้ฟังก์ชัน multimedia เช่นการดูภาพกับเพื่อนๆ และชมภาพยนตร์แบบสบายๆ ควรเลือกจอที่มีขนาดประมาณ 14 นิ้วขึ้นไป หรือถ้าต้องการความเป็นส่วนตัว และอยากชมภาพยนตร์แบบใกล้ชิด ก็สามารถเลือกจอที่มีขนาดเล็กกว่านี้ได้
สัดส่วนของหน้าจอ (aspect ratio): สัดส่วนของหน้าจอก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งในการตัดสินใจเลือก notebook ซึ่งปัจจุบันนี้มี notebook ที่มีสัดส่วนหน้าจอที่หลากหลาย แต่ที่มีจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายก็จะเป็นจอแบบ 4:3 และ 5:4 (จอปกติ) และแบบ 16:10 (จอกว้าง) และเร็วๆ นี้ก็ได้มีจอแบบกว้างพิเศษ ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากับสัดส่วนที่ใช้กับภาพยนตร์ (16:9) มาให้เลือกอีกด้วย
ถ้าเน้นใช้งานเอกสาร สัดส่วนของจอที่เหมาะสมคือสัดส่วนแบบ 4:3 ซึ่งจะทำให้คุณมองเห็นหน้าเอกสารยาวๆ ได้ แต่ถ้าคุณชอบจอกว้างแบบ 16:10 ก็ไม่ผิดกติกาอะไร เพราะจอกว้างจะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นเอกสารหรือเว็บเพจได้กว้างขึ้น และจัดการกับงาน spreadsheet ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากพื้นที่ด้านข้างที่มากขึ้นนั่นเอง
ถ้าเน้นใช้งานกราฟฟิค และงานออกแบบ ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของชิ้นงานของคุณว่าต้องการใช้หน้าจอที่มีสัดส่วนแบบใด อย่าลืมว่าหากคุณเลือกใช้จอกว้าง คุณจะต้องเสียสละพื้นที่ส่วนล่างไป ในขณะที่คุณเลือกใช้จอสัดส่วนปกติ คุณก็จะเสียพื้นที่ด้านข้าง คงจะต้อง trade-off กันพอสมควรระหว่างการ scroll เม้าส์ไปด้านข้างบ่อย กับ scroll ไปด้านล่างบ่อยๆ คุณจะเลือกแบบไหน
ถ้าเน้นใช้งาน multimedia และอยากดูหนังจอกว้างจากแผ่น DVD หรือ Blu-ray ควรจะเลือกซื้อ notebook จอกว้าง แบบ 16:10 แต่ถ้าต้องการดูหนังแบบไม่มีขอบดำบน-ล่างให้รำคาญสายตาก็ควรเลือกซื้อจอกว้างแบบ 16:9
ความละเอียด (resolution) ของหน้าจอ:
ความหมายของคำว่า “display resolution” คือจำนวนของเม็ดพิกเซล (pixel) ที่เรียงชิดกันในแนวนอนและแนวตั้ง เช่น 1280 x 1024 หมายถึงจอนั้นมีจำนวนพิกเซลในแนวนอน 1280 จุด และแนวตั้ง 1024 จุด ซึ่งเมื่อนับจำนวนเม็ดพิกเซลของจอนี้จะได้ทั้งหมด 1.3 ล้านจุด
คำว่า “display resolution” หรือ “ความละเอียด” นั้นยังก่อให้เกิดความเข้าใจผิดอีกด้วย ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงคำว่า “resolution” ในแง่ของจำนวนพิกเซลทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นจอดังที่กล่าวในย่อหน้าที่แล้ว แต่ไม่ได้หมายถึง “ความหนาแน่นของเม็ดพิกเซล (pixel density)” หรือจำนวนจุดต่อหนึ่งตารางนิ้ว เหมือนกับที่ใช้ในงานพิมพ์ต่างๆ
อีกหนึ่งข้อควรพิจารณาคือ เนื่องจากโดยธรรมชาติของจอ LCD เป็นแบบ “fixed-pixel-array” (มีจำนวนเม็ดพิกเซลแนวตั้งและแนวนอนนับเป็น “จุดต่อนิ้ว” หรือ DPI) พวกมันจึงมีความสามารถในการแสดงผลด้วยความละเอียด (resolution) ที่มันถูกผลิตมาเท่านั้น ซึ่งเราเรียกความละเอียดที่จอนั้นถูกผลิตมาว่า “native resolution” เมื่อเราป้อนสัญญาณที่มีความละเอียดเท่ากับ native resolution ของจอ LCD สัญญาณภาพนั้นก็จะถูกนำมาแสดงได้สวยงามและเต็ม panel พอดี แต่ถ้าเราป้อนสัญญาณที่มีความละเอียดต่ำกว่า native resolution เข้าไป จะทำให้วงจรขยายภาพของจอ LCD ทำงาน โดยวงจรดังกล่าวจะเอาสัญญาณไปประมวลผลเพื่อเพิ่มขนาดให้เต็ม panel แล้วค่อยนำออกแสดงผลอีกที ซึ่งเป็นผลทำให้ภาพที่ได้ดูไม่คมชัด และสัดส่วนอาจผิดเพี้ยนในกรณีที่สัดส่วนภาพของสัญญาณภาพที่ป้อนเข้าไปไม่ตรงกับสัดส่วนของ panel – ยกตัวอย่างเช่น คุณมี notebook ที่ใช้จอที่มี native resolution เป็น 1280 x 768 พิกเซล เมื่อคุณป้อนสัญญาณความละเอียด 800 x 600 พิกเซลเข้าไป จะทำให้ panel เอาภาพไปขยายให้เต็ม Panel ทำให้ภาพมีสัดส่วนผิดเพี้ยน และไม่คมชัด
หมายเหตุ: LCD ของ notebook บางรุ่นสามารถปรับให้มันสเกลภาพโดยสัดส่วนไม่ผิดเพี้ยนได้ บางรุ่นสามารถปรับให้แสดงภาพแบบ 1:1 ได้อีกด้วย
VGA (640 x 480 pixels): เป็นความละเอียดของจอ monitor ซึ่งปัจจุบันได้ล้าสมัยไปแล้ว เพราะเป็นความละเอียดที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน ปัจจุบันอาจมี sub-notebook หรือ notebook ที่ถูกผลิตมาเพื่อใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะที่ยังใช้ความละเอียดนี้อยู่
SVGA (800 x 600 pixels): เป็นอีกหนึ่งความละเอียดที่เริ่มล้าสมัย ปัจจุบันอาจพบจอความละเอียดนี้ได้ใน sub-notebook หรือ notebook ที่ถูกผลิตมาเพื่อใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น
XGA (1024 x 768): ความละเอียดเริ่มต้นของ Notebook ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน โดยใช้กับ panel ขนาดตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไปที่มีสัดส่วนแบบ 4:3 ปัจจุบันได้รับความนิยมลดน้อยลง เนื่องจากโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบันเริ่มต้องการความสามารถในการแสดงผลที่สูงกว่า XGA
WSVGA (1024 x 600): ความละเอียดแบบ XGA แต่เป็นแบบจอกว้าง พบได้ใน netbook หลายๆ รุ่น
1152 x 768, 1280 x 854, 1280 x 960: ความละเอียดนี้ค่อนข้างหาได้ยากในจอ LCD ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับจอแบบ CRT มากกว่า
SXGA (1280 x 1024): เป็นความละเอียดที่พบได้บนจอ notebook ขนาดประมาณ 14-17 นิ้ว ซึ่งความละเอียดนี้ทำให้สัดส่วนของภาพที่ได้เป็นแบบ 5:4
HD 720 (1280 x 720): ความละเอียดของหนัง High definition ขนาด 720 เส้น และเป็นความละเอียดที่เกมส่วนใหญ่บนเครื่อง console อย่าง Xbox 360 และ PS3 ใช้
WXGA (1280 x 768, 1280 x 800): ความละเอียดระดับนี้ เป็นความละเอียดที่พบได้ใน notebook จอกว้างที่มีจอตั้งแต่ขนาด 10 นิ้วเป็นต้นไป แต่ขนาดที่เหมาะสมสำหรับความละเอียดระดับนี้ควรจะเป็นขนาดประมาณ 13 – 14 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดที่กำลังพอดีกับการมอง โดยไม่ทำให้ตัวอักษรใน Windows เล็กเกินไป
1366 x 768: ความละเอียดของจอ LCD แบบ HD-Ready
1440 x 900, 1440 x 960: อีกความละเอียดที่พบใน Notebook จอกว้างขนาด 14 – 17 นิ้ว
SXGA+ (1400 x 1050): ความละเอียดของจอ notebook แบบไม่ใช่จอกว้าง เหมาะสำหรับงานกราฟฟิคที่ต้องใช้ความละเอียดของหน้าจอมากๆ พบใน notebook ที่มีจอขนาด 14 – 17 นิ้ว
WSXGA+ (1680 x 1050): ความละเอียดแบบจอกว้าง พบได้ในจอ notebook ขนาด 15 นิ้วขึ้นไป
1600 x 1900: ความละเอียดที่ผู้ผลิต entertainment notebook หลายรายเริ่มใช้ เนื่องจากเป็นความละเอียดที่ได้สัดส่วนกับภาพยนตร์แบบจอกว้างพอดี ทำให้สามารถดูหนังได้โดยไม่มีขอบดำบน-ล่าง ให้รำคาญตา
HD 1080 (1920 x 1080): ความละเอียดมาตรฐานของหนัง HD แบบ 1080 เส้น และยังเป็นความละเอียดที่พบใน จอของ notebook แบบไฮเอนด์ที่ต้องการโปรโมทความสามารถในการเล่นหนัง Hi-definition อีกด้วย
UGA (1600 x 1200): ความละเอียดสำหรับผู้ที่ใช้งานกราฟฟิคที่ต้องทำงานกับรายละเอียดเยอะๆ และต้องการความแม่นยำสูง พบได้ใน notebook ที่มีจอขนาด 14 นิ้วขึ้นไป
WUXGA (1920 x 1200): ความละเอียดขอจอ notebook แบบไฮเอนด์ ซึ่งเป็นแบบจอกว้าง (สัดส่วน 16:10) พบได้ใน notebook ที่มีจอขนาด 15 นิ้วขึ้นไป
2K (2048 x 1080): ความละเอียดของไฟล์ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงหนังดิจิตอล
QXGA (2048 x 1536): ความละเอียดสำหรับจอขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับงานกราฟฟิค และด้วยความละเอียดที่สูงมาก จึงทำให้มันไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับจอขนาดเล็กๆ อย่างจอ notebook WQXGA (2560 x 1600),QSXGA (2560 x 2048)
จากรายละเอียดข้างบน คุณจะพบว่ามาตรฐานความละเอียดสำหรับจอ LCD ที่ใช้บน notebook นั้นค่อนข้างหลากหลาย การเลือกขนาดและความละเอียดของจอที่เหมาะสมจึงต้องคำนึงถึงความต้องการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ
เทคนิคการเลือกซื้อจอ LCD ของ notebook
credit from : www.lcdspec.com/?p=399
note book pc,note book new
.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น